หน้าหลัก
ITA
LPA
ประกาศจากระบบ e-GP
ประกาศจากระบบ e-GP ในเครือข่าย
องค์การบริหารส่วนตำบล แหลมทอง ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ
 
ข้อมูลหน่วยงาน
ข้อมูลหน่วยงาน
บุคลากร
บุคลากร
การบริหารบุคคล
การบริหารบุคคล
ข่าวสาร
ข่าวสาร
แผน
แผน
รายงาน
รายงาน
ระเบียบ
ระเบียบ
บริการประชาชน
บริการประชาชน
องค์การบริหารส่วนตำบลแหลมทอง
Laemthong Subdistrict Administrative Organization
 
 
 
สถานที่สำคัญ
 
 

ถ้ำพระ  (จังหวัด ชัยภูมิ)
รูปชุดก่อน รูปชุดถัดไป
คลิกที่ภาพเพื่อขยาย

ลำดับภาพที่ 1/17

ลำดับภาพที่ 2/17

ลำดับภาพที่ 3/17

ลำดับภาพที่ 4/17

ลำดับภาพที่ 5/17

ลำดับภาพที่ 6/17

ลำดับภาพที่ 7/17

ลำดับภาพที่ 8/17

ลำดับภาพที่ 9/17

ลำดับภาพที่ 10/17

ลำดับภาพที่ 11/17

ลำดับภาพที่ 12/17

ลำดับภาพที่ 13/17

ลำดับภาพที่ 14/17

ลำดับภาพที่ 15/17

ลำดับภาพที่ 16/17

ลำดับภาพที่ 17/17
<<
>>
X
 
ชื่อสถานที่ : ถ้ำพระ
 
ที่ตั้ง : บ้านซับเจริญ หมู่ 3 ตำบลแหลมทอง อำเภอภักดีชุมพล จังหวัดชัยภูมิ 36260
 
ข้อมูล : วัดถ้ำพระ แต่เดิมชาวบ้านเรียกว่าถ้ำผาจันทน์แดง เพราะบริเวณผาหน้าถ้ำมีต้นจันทน์แดงขึ้นเป็นจำนวนมาก ตั้งอยู่บนเทือกเขาพระยาพ่อ เขตติดต่อระหว่างจังหวัดชัยภูมิกับจังหวัดเพชรบูรณ์ หน้าถ้ำเคยเป็นเส้นทางคมนาคมสมัยโบราณที่ใช้ติดต่อค้าขายระหว่างเมืองชัยภูมิกับเมืองเพชรบูรณ์ และหัวเมืองทางเหนือ ต่อมาประมาณปี พ.ศ.2510 ได้มีนายบัวลี แสงจันทร์ชาวบ้านเจียง ได้อพยพย้ายถิ่นฐานมาตั้งหมู่บ้านซึ่งอยู่ห่างจากถ้ำผาจันทน์แดงประมาณ 3 ก.ม.ปัจจุบันกลายเป็นหมู่บ้านแหลมทอง ในช่วงเวลานั้นได้มีพระธุดงค์มาธุดงค์กรรมฐานตามป่า เขา และได้มาพักอาศัยบำเพ็ญภาวนาอยู่ภายในถ้ำผาจันทน์แดง นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาก็มีพระมาจำพรรษาที่ถ้ำแห่งนี้มาโดยตลอด ต่อมาเมื่อประมาณปี พ.ศ.2519 ได้มีภิกษุหนุ่มรูปหนึ่งได้มาบำเพ็ญเจริญสมาธิภาวนาอยู่ในถ้ำปรากฏเห็นนิมิต เป็นดวงแก้วใสสว่างลอยออกจากเพดานถ้ำลงมา และปรากฏเป็นร่างของพระภิกษุชรารูปหนึ่ง อายุประมาณ 60 ปี สูงประมาณ 180 ซ.ม. ห่มจีวรสีกรักออกดำมือชี้ไปทีแสงที่ปรากฏอยู่บนเพดานของถ้ำ เมื่อออกจากสมาธิแล้วก็ได้มาปรึกษากับหลวงปู่คำพันธ์ที่เป็นอาจารย์ในขณะนั้นหลวงปู่จึงบอกให้ชาวบ้านทำนั่งร้านขึ้นไป แล้วใช้เหล็กสกัดหินดูปรากฏว่าเป็นโพรงถ้ำภายในถ้ำพบโครงกระดูกมนุษย์ซึ่งกลายเป็นหิน บริเวณด้านข้างพบหม้อดินเผาภายในบรรจุหินสีดำเท่ากับลูกพุทรา หินสีดำแท่งหนาประมาณ 2 นิ้ว ยาวประมาณ 4 นิ้ว หินรูปขวานขนาดเล็ก และเปลือกหอยยาวคล้ายกับใบมีดโกน จึงนำของเหล่านั้นลงมา การได้ค้นพบโครงกระดูกพระสมัยโบราณครั้งนั้นเป็นที่อัศจรรย์กับพระสงฆ์และชาวบ้านที่ได้พบเห็นเป็นอันมาก จึงได้บรรจุอัฐิไว้ในธาตุประดิษฐานไว้บนยอดเขาแล้วมีการทำบุญอุทิศตามประเพณีโบราณได้กระทำสืบทอดกันมา ที่กล่าวว่าเป็นโครงกระดูกของพระสมัยโบราณอายุประมาณเกือบ 2,000 ปีนั้น สันนิฐานว่า หม้อดินเผานั้นเป็นบาตรดินที่พระสมัยโบราณเคยใช้ในสมัยนั้น ส่วนโครงกระดูกมีคนเคยให้กรมศิลป์พิสูจน์ว่าอายุประมาณอายุเท่าไร ประกอบกับนิมิตของภิกษุหนุ่มที่ได้ปรากฏเห็นเป็นพระภิกษุ นับตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาจึงได้ชื่อว่า “ถ้ำพระ”จนมาถึงปัจจุบันนี้.


ขอบคุณข้อมูลจาก http://xn--l3ceyuq2dck0snb.blogspot.com/
 
 
ผู้เข้าชม 927 ท่าน         
 
" พัฒนาทุกด้าน
เสริมสร้างชุมชนเข้มแข็ง ประชาชนอยู่ดีกินดี "
 
 
 
รับเรื่องร้องเรียน
โทร : 085-7634188
 
  Version ขั้นต่ำของ Browser IE9 / Firefox 3.5 / Chrome / Safari4 / Opera10